เวลาทำการ

09:00-17:00

เบอร์โทรติดต่อ

02-573-0241

สายด่วน

ท่องเที่ยวเส้นทางสายไหม (บทที่ 1 ข้อมูลเบื้องต้นของประเทศจีนและเส้นทางสายไหม)

ท่องเที่ยวเส้นทางสายไหม (บทที่ 1 ข้อมูลเบื้องต้นของประเทศจีนและเส้นทางสายไหม)

ประเทศจีนตั้งในเอเชียตะวันออกฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิคมีพื้นที่ประมาณ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลกรองจากรัสเซีย แคนาดาและสหรัฐตามลำดับ มีประชากรมากที่สุดในโลก คือ 1,411ล้านคน (17 มกราคม 2566) เป็นชาวฮั่น 92% นอกนั้นเป็นชนกลุ่มน้อยรวมแล้ว 56 เผ่าพันธุ์ พื้นที่ทางบกมากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของโลก แม่น้ำใหญ่คือแม่น้ำแยงซีเกียงและฮวงโห เขตการปกครอง มี 4 มหานครขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลาง คือ ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ ชางไห่ และเทียนจิน 2 เขตบริหารพิเศษ คือ ฮ่องกง และไต้หวัน 5 เขตปกครองตนเอง คือ กว่างสี (ชนชาติจ้วง) มองโกเลียใน (เน่ยเมิ่งกู) หนิงเซี่ย (ชนชาติหุย) ซินเจียง (ชนชาติอุยกูร์) และซีจ้าง (ชนชาติทิเบต) 22 มณฑล

เส้นแดงบนสุดคือแม่น้ำฮวงโห เส้นสีน้ำเงินตรงกาลงคือแยงซีเกียง เส้นสีน้ำเงินล่างสุดคือแม่น้ำจูเจียง

เส้นทางสายไหมหรือทางแพรไหม (Silk Road หรือ Silk Route) เป็นชุดเส้นทางส่งสินค้าและวัฒนธรรมผ่านภูมิภาคของทวีปเอเชียที่เชื่อมตะวันตกและตะวันออกโดยการโยงพ่อค้าวานิช ผู้แสวงบุญ นักบวช ทหาร ชนเร่ร่อนและผู้อาศัยในเมืองจากจีนและอินเดียไปยังทะเลเมดเตอร์เรเนียนในอดีตหลายสมัย
เส้นทางนี้ยาว 6,437 กิโลเมตร (4,000ไมล์) ได้ชื่อมาจากการค้าผ้าไหมจีนที่กำไรมากตลอดเส้นทางเริ่มแต่ราชวงค์ฮั่น (206 ปีก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 220) โดยหลิวปังซึ่งก่อตั้งราชวงค์ฮั่นและขึ้นครองราชย์เป็นปฐมกษัตริย์ราชวงค์ฮั่นชื่อฮั่นเกาจู ได้เริ่มทางสายไหม และขยายเรื่อยมาจน 114 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนใหญ่ผ่านคณะฑูตและการสำรวจจากผู้แทนทางการฑูตจักรวรรดิจีน จางเชียน (Zhang Qian) และขยายกำแพงเมืองจีนเพื่อประกันการคุ้มครองเส้นทางค้านี้ เส้นทางสายไหมนี้เริ่มจากเมืองฉางอันในจีนมี 2 ทางคือทางบกไปสิ้นสุดที่เมืองแอนติออค (Antioch) ในตุรกี และทางน้ำสิ้นสุดที่กรุงโรม อิตาลีซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางโลกในสมัยนั้น

หลังจากที่พระเจ้ากุปไลข่านหลานกษัตริย์เจงกิสข่านได้ให้มาร์โคโปโลไปสำรวจเส้นทางสายไหม จึงเกิดเส้นทางใหม่ทีติดต่อกับทางตะวันตก เส้นทางสายไหมเก่าจึงลดบทบาทในการค้า การติดต่อลง ในปีพ.ศ. 2557 ยูเนสโกได้มีมติให้ขึ้นทะเบียนเส้นทางสายไหมในจีน คาซัคสถานและคีกิซสถานเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ เส้นทางสายไหม: โครงข่ายเส้นทางชนวนฉางอานเทียนซาน ในฐานะเส้นทางโบราณในการติดต่อค้าขายและสื่อสารวัฒนธรรมศาสนาระหว่างตะวันออกและตะวันตก
ในคริสตศตวรรษที่ 21 เมื่อเกิดสงครามเศรษฐกิจระหว่างจีนกับสหรัฐ สีจิ้นผิงจึงใช้เทคโนโลยีชั้นสูงพัฒนาทางสายไหมขึ้นใหม่ เพื่อเชื่อมโยงนานาประเทศกับจีนเรียกว่า โครงการแถบหนึ่งเส้นทาง (One Belt and One Road Initiative: BRI) ซี่งมีผ่านไทยด้วย

ติดตามบทต่อไปได้ที่ http://jawarajtours.com/ท่องเที่ยวเส้นทางสายไห-2/

ผู้แต่ง: พญ. รุจิรา สุริยวนากุล